การจัดการเรียน การสอนแบบผสมผสาน 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาทั้งสอง ได้เป็นอย่างดี นักเรียนจะมีครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษาและครูไทยประจำชั้น คอยเอาใจใส่สอนวิชาตามหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนจึงได้เรียนวิชาต่าง ๆ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยวิชาที่นักเรียนจะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ มีดังนี้ วิทยาศาสตร์ (เคมี ชีวะ ฟิสิกส์)สังคม, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ศิลปะ และพลศึกษา มีภาษาที่3 ให้เรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 คือ ภาษาจีน และระดับชั้นมัธยมศึกษาคือภาษาญี่ปุ่น
     นอกจากนั้นนักเรียนยังได้เรียนคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย เรียนว่ายน้ำ มีทัศนศึกษานอกสถานที่ นักเรียนจะศึกษาและเข้าใจเรื่องราว ความรู้ ยุคใหม่ แบบอย่างของโลกตะวันตก บนพื้นฐานความงดงามของวัฒนธรรมและประเพณีของไทย

เป้าหมายและผลที่คาดว่าจะได้รับ


  • นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษ และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
  • เด็กได้เรียนรู้วิชาหลักเหมือนนักเรียนไทยทั่วไป และได้เรียนรู้เนื้อหาเดียวกัน แต่มากกว่าในรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ
  • เด็กเกิดวุฒิภาวะความรับผิดชอบต่อตนเองสูงสุดจากแนวการสอนแบบอาจารย์ต่างประเทศ โดยครูเจ้าของภาษาและครูชาวไทยที่ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
  • เยาวชนยังคงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมอันดีงามของไทย ควบคู่ไปกับความรู้ด้านวิทยาการใหม่ๆ และมีโลกทัศน์ (World Vision) ที่กว้างขึ้น
  • ได้เยาวชนที่เป็นพลังของชาติ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้กว้างไกล มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ รักความสามัคคีและทำงานเป็นหมู่คณะซึ่งจะเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศสืบต่อไป

การวัดและประเมินผล

      ใช้แนวการจัดจุดประสงค์และแนวการประเมินผลตามคู่มือการวัดและประเมินผลของกระทรวงศึกษาธิการ โดยแบ่งการวัดและการประเมินผลจากการทดสอบทั้งภาคภาษาไทยโดยครูชาวไทย และจากภาคภาษาอังกฤษโดยครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษา

การเรียนสองภาษา

      การเรียนสองภาษามิใช่แปลเนื้อหาวิชาจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งเท่านั้น แต่มีการเรียนเนื้อหาในหัวข้อเดียวกันให้มีรายละเอียดเป็นทั้งสองภาษา วิชาที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษคือภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคม พลศึกษา และศิลปะ จากการศึกษาค้นคว้าและประสบการณ์จริงที่สั่งสมมาตลอด ในฐานะที่เป็นโรงเรียนแรก เราได้แบ่งอัตราการสอนเป็นแต่ละระดับชั้น มีการพัฒนารูปแบบและวางหลักสูตรให้เหมาะกับสภาพผู้เรียน โดยอิงกับเนื้อหาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

ดนตรี

      ดนตรี แนวทางการเรียนการสอนด้านดนตรีของโรงเรียนจะเริ่มตั้งแต่อนุบาลที่เน้นการขับร้อง เล่น เต้น ฟัง เพื่อเตรียมพัฒนาการทางด้านดนตรีสำหรับหลักสูตรที่สูงขึ้นไป เมื่อนักเรียนเข้าสู่ระดับประถมจะเริ่มเรียนการอ่านโน้ตไปพร้อมๆกับการเรียนปฎิบัติเครื่องมือทั้งไทยและสากล นักเรียนทุกคนจึงสามารถเล่นดนตรีได้อย่างน้อย 1 ชิ้น เมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตรจากเราโดยไม่ต้องเรียนพิเศษจากนอกโรงเรียน